วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารอาหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา


วงจรของสารอาหารในมหาสมุทรสารอาหาร เป็น สารเคมีที่ สิ่งมีชีวิต ต้องการเพื่อการดำรงชีพ และ เติบโต หรือ เป็น สารที่ที่ใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย โดยที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะรับสารอาหารจากสิ่งแวดล้อมของมัน[1]

การนำเข้า สารอาหาร นั้นต่างกันกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆกัน สัตว์ และ โพรทิสต์ จะนำเข้าสารอาหารโดยระบบการย่อยภายใน ส่วนพืชนั้นจะนำเข้าสารอาหารได้โดยตรงจากดิน ผ่านทางราก หรือนำเข้าสารอาหารจากบรรยากาศ

เนื้อหา
[ซ่อน]
■1 สารอาหารสำหรับสัตว์
■1.1 ประโยชน์จากสารอาหาร
■2 สารอาหารสำหรับพืช
■3 อ้างอิง


สารอาหารสำหรับสัตว์
สารอาหาร คือ อาหารที่กินเข้าไปแล้ว ถูกย่อยด้วยกระบวนการย่อยจนได้โมเลกุลของอาหารที่เล็กลงจนร่างกายสามารถนำเอาไปใช้ได้ เราแบ่งสารอาหารออกเป็น 6 กลุ่ม ดั้งนี้

1.โปรตีน
2.คาร์โบไฮเดรต
3.ไขมัน
4.วิตามิน
5.เกลือแร่
6.น้ำ
ประโยชน์จากสารอาหาร
1.ได้พลังงาน พลังงานที่ได้จากอาหารทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆทำงานได้
2.เจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในขณะเป็นทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ มนุษย์ใช้อาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และเมื่อยามสูญเสียเซลล์ในร่างกายบางส่วน อาหารก็จะสามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้
3.เพื่อสุขภาพ
สารอาหารสำหรับพืช
สารอาหารสำหรับพืช เป็นสารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ (1) ถ้าเกิดพืชขาดมันแล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตากปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)[2] สารอาหรที่จำเป็นสำหรับพืช ได้แก่ คาร์บอน (C), ออกซิเจน (O), ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โปแตสเซียม (K), แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), ซิลิคอน (Si), โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)

โดย ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K) ถูกจัดเป็น มหาสารอาหารหลัก (primary macronutrients); แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si) ถูกจัดเป็น มหาสารอาหารรอง (secondary macronutrients); และ โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na) ถูกจัดเป็น จุลสารอาหาร (micronutrients)

มหาสารอาหาร (macronutrients) นั้นคือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง [3]

อ้างอิง
1.^ Whitney, Elanor and Sharon Rolfes. 2005. Understanding Nutrition, 10th edition, p 6. Thomson-Wadsworth.
2.^ {{cite book|author1=Emanuel Epstein|title=Mineral Nutrition of Plants: Principles and Perspectives
3.^ http://aesl.ces.uga.edu/publications/plant/Nutrient.htm Retrieved Jan. 2010



บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้ด้วยการเพิ่มเติมข้อมูล (http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3&action=edit)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3".
หมวดหมู่: สารอาหาร | บทความเกี่ยวกับ อาหาร ที่ยังไม่สมบูรณ์
เครื่องมือส่วนตัวล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้เนมสเปซบทความอภิปรายสิ่งที่แตกต่างดูเนื้อหาแก้ไขประวัติการกระทำสืบค้น
ป้ายบอกทางหน้าหลักเหตุการณ์ปัจจุบันถามคำถามบทความคัดสรรบทความคุณภาพสุ่มบทความมีส่วนร่วมศาลาประชาคมปรับปรุงล่าสุดเรียนรู้การใช้งานติดต่อวิกิพีเดียบริจาคให้วิกิพีเดียวิธีใช้พิมพ์/ส่งออกสร้างหนังสือดาวน์โหลดในชื่อ PDFเครื่องมือหน้าที่ลิงก์มาปรับปรุงที่เกี่ยวโยงอัปโหลดหน้าพิเศษลิงก์ถาวรอ้างอิงบทความนี้ภาษาอื่นCatalàČeskyDanskEnglishEspañolEsperantoFrançais한국어Bahasa IndonesiaNederlands日本語‪Norsk (nynorsk)‬PortuguêsSlovenčinaSuomiSvenska
■หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 03:14 น.
■อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน; เงื่อนไขอื่นอาจใช้ประกอบด้วย โปรดศึกษาเงื่อนไขการใช้งาน
Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย

ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับวิกิพีเดียข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

http://hotfile.com/dl/107088733/f41b25a/P1050306.JPG.html